เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนที่กำลังหารายได้จากการขายของออนไลน์พวกสกินแคร์ เครื่องสำอาง อาหารเสริม น่าจะคุ้นเคยกับระบบการขายทั้งแบบการเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือการเป็นเจ้าของแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งระหว่างสองทางแยกนี้อาจทำให้หลายคนตัดสินใจไม่ได้ว่าจะลองเสี่ยงตั้งต้นเป็นเจ้าของแบรนด์ด้วยตัวเองไปเลยดี

หรือจะลองเสี่ยงน้อย ๆ กับการเป็นตัวแทนจำหน่ายไปก่อนจะได้ไม่ต้องเจ็บหนักตอนล้ม หรือแม่ค้ามือใหม่ที่อยากได้คำตอบแบบชัดเจนว่าตกลงแล้วทั้งแบบตัวแทนจำหน่ายและการเป็นเจ้าของแบรนด์มีความแตกต่างกันอย่างไร สามารถร่วมกันหาคำตอบได้จากบทความนี้ไปพร้อมกันเลย

 

  1. เจ้าของแบรนด์สามารถควบคุมสินค้าได้มากกว่า

แน่นอนว่าหากคุณเป็นคนที่ต้องการบริหารจัดการสินค้าด้วยตัวเอง การเป็นเจ้าของแบรนด์สามารถตอบโจทย์ได้โดยตรง เพราะคุณสามารถปรับแก้ไขสินค้าอย่างไรก็ได้ให้ตรงใจคุณมากที่สุด แต่การเป็นตัวแทนจำหน่ายไม่สามารถแก้ไขสินค้าได้เลย เพราะสินค้าที่ตัวแทนขายต้องมาจากการตัดสินใจจากเจ้าของแบรนด์โดยตรง ที่ทำหน้าที่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการผลิต, การจัดการบริหารจำนวนสินค้า, การทำการตลาด หากคุณทำงานคนเดียวบอกเลยว่าการเป็นเจ้าของแบรนด์เหนื่อยเอาการเลย แต่ค่าตอบแทนก็แสนคุ้มค่าเช่นกัน

 

  1. เจ้าของแบรนด์มีส่วนร่วมกับการผลิตโดยตรง

เจ้าของแบรนด์เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เสนอไอเดียและ Concept ให้กับโรงงานที่ผลิตโดยตรง ดังนั้นแล้วการมีส่วนร่วมทั้งในการกำหนดสูตร, กำหนดสรรพคุณต่าง ๆ ที่อยากให้มีในสินค้า หรือรูปร่างลักษณะก็ล้วนมากจากเจ้าของแบรนด์ที่เสนอความต้องการไปให้กับโรงงานที่ทำหน้าที่ผลิต แตกต่างจากตัวแทนจำหน่ายที่ใช้ทักษะการขายในการผลักดันยอดให้สำเร็จเท่านั้น

 

  1. เจ้าของแบรนด์รู้ว่าสินค้าที่ขายถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

การเป็นตัวแทนจำหน่ายหากไม่ตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าให้ดี ถึงแม้จะทำยอดขายได้มากมาย แต่หากสินค้าถูกตรวจสอบได้ว่าไร้มาตรฐานก็อาจถูกจับกุมไปดำเนินคดีได้ ดังนั้นมีเพียงเจ้าของแบรนด์ที่รู้กระบวนการผลิตอย่างละเอียด และแน่ใจได้ว่าสินค้าของตนนั้นถูกกฎหมายหรือไม่

 

  1. เจ้าของแบรนด์ต้องสร้างตัวตนให้กับแบรนด์

การเป็นเจ้าของแบรนดต้องดูแลสินค้าเหมือนกับลูกของตัวเอง คุณจะกำหนดทิศทางการเติบโตของมันอย่างไรก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องสร้างตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์ให้สินค้าจากการใส่ตัวตนลงไป จะอยากให้เป็นสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือให้เติบโตไประดับสากลในวงกว้างก็ได้เช่นกัน แต่การเป็นตัวแทนจำหน่ายจะไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น แต่คุณจะรู้สึกภูมิใจที่ใช้ทักษะการนำเสนอขายในการสร้างรายได้แทน

 

  1. กรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ

เจ้าของตัวแบรนด์จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในตัวแบรนด์ ซึ่งแม้จะใช้ทั้งความอดทนและเวลามากในการปั้นแบรนด์ แต่ผลสุดท้ายแล้วมันแสนคุ้มค่า แตกต่างจากตัวแทนจำหน่ายที่คุณอาจจะรู้สึกว่าไม่ได้สร้างสิ่งใดเป็นชิ้นเป็นอัน ทำได้เพียงการขายของเท่านั้น 

 

 

การเลือกระหว่างการเป็นเจ้าของกิจการหรือการเป็นตัวแทนจำหน่ายนั้นการทำงานค่อนข้างแตกต่างกันอย่างชัดเจน และแน่นอนว่าข้อดี-ข้อเสียก็แตกต่างกันออกไปด้วย ไม่จำเป็นที่เราต้องเลือกในสิ่งที่ใครหลายคนบอกว่าดีเสมอไป เพราะมีแต่เราเท่านั้นที่รู้ดีว่าแบบไหนเหมาะสมกับตัวเองที่สุด